วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

แก๊สโซฮอล์(GASOHOL)


แก๊สโซฮอล์


บทสรุปของเอทานอลส่วนผสมสำคัญที่นำมาใช้ทั่วโลก
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ (อังกฤษ: Gasohol) (สะกดตามราชบัณฑิตยสถานว่า แกโซฮอล[1]) หรือที่นิยมเรียกว่า E10 คือน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับรถยนต์ ที่เกิดจากการผสมระหว่าง น้ำมันเบนซิน 90% กับ แอลกอฮอล์ 10% (ได้แก่ เอทานอล) ในภาษาอังกฤษไม่เรียกน้ำมันเชื้อเพลิงว่า เบนซิน แต่จะเรียกว่า แก๊สโซลีน (Gasoline) ดังนั้น จึงเป็นที่มาของคำศัพท์ว่า แก๊สโซฮอล์ นั่นคือ Gasoline + alcohol
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้รับการพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นพลังงานทางเลือกทดแทนน้ำมัน เบนซิน น้ำมันผสมชนิดนี้มีใช้กันในหลายประเทศทั่วโลก ข้อดีของแก๊สโซฮอล์คือ การเผาไหม้ที่สมบูรณ์ขึ้น เนื่องจากโครงสร้างทางเคมีของแอลกอฮอล์ ทำให้ลดมลพิษในอากาศ และในขณะเดียวกันราคาของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ มีราคาต่ำกว่า น้ำมันเบนซินโดยทั่วไป
สำหรับน้ำมันแก๊สโซฮอล์นั้นมีองค์ประกอบต่างกับน้ำมันเบนซิน คือน้ำมันเบนซินมี เอมทีบีอี (MTBE) เป็นตัวเพิ่มออคเทน ส่วนน้ำมันแก๊สโซฮอล์ใช้เอทานอล เป็นตัวเพิ่มออคเทน เอทานอลให้พลังงานน้อยกว่าเอมทีบีอี (MTBE) โดยต่างกันอยู่ร้อยละ 1.6-1.8 การใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์นั้นออกซิเจนที่เป็นส่วนประกอบอยู่ในเอทานอล จะช่วยให้การเผาไหม้ภายในห้องเครื่องสมบูรณ์ขึ้นอีก และลดปริมาณก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่จะปล่อยออกมาจากท่อไอเสีย

แก๊สโซฮอล์ในประเทศไทย


แก๊สโซฮอล์ในประเทศไทย
แก๊สโซฮอล์ในประเทศไทยเกิดขึ้นจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2528 ที่ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาการขาดแคลนน้ำมัน โดยได้ทรงศึกษาการนำอ้อยมาแปรรูปเป็นแอลกอฮอล์ และนำแอลกอฮอล์มาผลิตเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์
น้ำมันแก๊สโซฮอล์ถือเป็นพลังงานทางเลือกที่ เริ่มได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศต่างๆ แทบทุกทวีปทั่วโลก เช่น อเมริกา แคนาดา บราซิล เคนยา ปารากวัย สเปน สวีเดน ออสเตรเลีย จีน ฯลฯ เนื่องจากเป็นพลังงานที่มีผลดีหลายอย่าง เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังผลิตจากวัตถุดิบธรรมชาติ อาทิ อ้อย กากน้ำตาล และมันสำปะหลัง ซึ่งล้วนแต่สามารถจัดหาและปลูกขึ้นได้ใหม่ในเวลาอันสั้น
ปัจจุบัน น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ที่นิยมจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมันทั่วไป คือน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ซึ่งมีส่วนผสมของเอทานอลไม่เกินร้อยละ 10 โดยรถยนต์ระบบหัวฉีดสามารถใช้แทนน้ำมันเบนซินได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องดัดแปลงเครื่องยนต์เลย แต่เครื่องยนต์ระบบคาร์บูเรเตอร์นั้นไม่เหมาะสมกับแก๊สโซฮอล์ แต่แก๊สโซฮอล์ชนิดอื่นก็มี แก๊สโซฮอล์E20 ซึ่งมีส่วนผสมของเอทานอลร้อยละ 20 และแก๊สโซฮอล์E85 ซึ่งมีส่วนผสมของเอทานอลร้อยละ 85

อ้างอิง


อ้างอิง
แหล่งข้อมูลอื่น

แก๊สโซฮอล์กับประโยชน์ที่จะได้รับนอกจากราคาแก๊สโซฮอล์จะถูกกว่าน้ำมันเบนซินธรรมดาซึ่งช่วยประหยัดการใช้น้ำมันและเงินตราต่างประเทศในการซื้อน้ำมันไปได้มากแล้วแก๊สโซฮอล์ยังช่วยลดปริมาณมลพิษจากท่อไอเสียและมลพิษในอากาศเพราะสามารถลดปริมาณไฮโดรคาร์บอนมอนนอกไซด์ลงได้ถึง 30% ทำให้การเผาไหม้ของเครื่องยนต์สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
แก๊สโซฮอล์สามารถเติมได้กับรถยนต์และรถจักรยานยนต์ทุกรุ่นตามที่ผู้ผลิตแนะนำโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปรับแต่งเครื่องยนต์และสามารถเติมผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหลืออยู่ในถังได้เลยไม่ต้องรอให้น้ำมันหมดถังก่อนและหากไม่มีจุดเติมแก๊สโซฮอล์ก็สามารถเปลี่ยนไปเติมน้ำมันเบนซินทั่วไปได้ทันทีเช่นกันเพราะแม้ว่าสารเติมแต่งค่าออกเทนที่กำหนดให้มีในการเติมน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วออกเทน95 โดยทั่วไปนั้น จะเติม MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether) แต่สำหรับแก๊สโซฮอล์ที่จะใช้ Ethyl Alcohol 99.5% ทดแทนในปริมาณ 10% แต่คุณสมบัติในการใช้งานกับเครื่องยนต์ยังคงเหมือนกันทุกประการ
นอกจากนี้การผลิตแก๊สโซฮอล์ยังถือเป็นการใช้ประโยชน์จากพืชผลทางการเกษตรในประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพราะไม่ว่าจะเป็นอ้อยมันสำปะหลังข้าวข้าวโพดสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบในการผลิตแอลกอฮอล์ได้ทั้งหมดช่วยลดงบประมาณในการแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรลงได้ถึงหนึ่งหมื่นล้านบาท


ผลเสียที่อาจเกิดขึ้นจากการเติมแก๊สโซฮอล์95
เนื่องจากแก๊สโซฮอล์95 เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงที่ได้จากการผสมระหว่างเอทานอล หรือ เอทิลแอลกอฮอล์ซึ่งเป็นแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 99.5% ผสมกับน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว ในอัตราส่วนเบนซิน 9 ส่วน เอทานอล1 ส่วน
1.
คุณสมบัติของแอลกอฮอล์ คือระเหยเร็วทำให้เกิดหยดน้ำในถังอาจทำให้ถังน้ำมันเกิดสนิมและผุเร็วกว่าที่ควรจะเป็นอาจทำให้เกิดการอุดตันในระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
2.
ควรเติมแก๊สโซฮอล์95 สลับกับเบนซิน 95 เนื่องจากในแก๊สโซฮอล์ไม่มีสารหล่อลื่นบ่าวาวล์เหมือนในเบนซิน 95 จึงทำให้เกิดการสึกหรอที่บ่าวาวล์มากขึ้น
3.
จากการใช้งานจริงอัตราการเร่งลดลงในช่วง 0 ? 100 กม./ชม.ต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเบนซิน 95 จึงเป็นเหตุให้ต้องเหยียบคันเร่งมากขึ้นทำให้เกิดการสิ้นเปลืองน้ำมันเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเครื่องยนต์ทำงานหนักขึ้นเกิดการสึกหรอเร็วขึ้น
4.
การเติมเอทานอล ลงในเบนซิน 95 มีผลต่อคุณสมบัติบางประการของวัสดุประเภทยางที่ใช้เป็นระบบเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์มากกว่า
5.
การเติมเอทานอล ลงในเบนซิน 95 มีผลต่อคุณสมบัติบางประการของวัสดุประเภทพลาสติก ที่ใช้เป็นระบบเชื้อเพลิงในเครื่องยนต์
6.
อัตราการกินน้ำมันของรถ เปรียบเทียบระหว่าง แก๊สโซฮอล์95 กับ เบ็นซิน95 จากการใช้จริง

ก่อนหน้านี้ เติมเบ็นซิน91 จำนวน 40 ลิตร วิ่งได้ระยะทาง = 400 กม.
เบ็นซิน91 จำนวน 40 ลิตร ราคาลิตรละ 35.14 บ. เป็นงิน = 1405.60 บาท

ปัจจุบัน เติมแก๊สโซฮอล์95 จำนวน 40 ลิตร วิ่งได้ = 360 กม.
แก๊สโซฮอล์95 จำนวน 40 ลิตร ราคาลิตรละ 31.54 บ. เป็นเงิน = 1261.60 บาท

ดังนั้นการเติมแก๊สโซฮอล์95 ประหยัดเงิน (เท่ากับ 1405.60 - 1261.60) = 144 บาท
แต่...ระยะทางจะหายไป (เท่ากับ 400 ? 360) = 40 กม.

(
ต้องเติม แก๊สโซฮอล์95 เพิ่มอีก 4.44 ลิตร จึงจะวิ่งได้ 400 กม. = เติมเบ็นซิน91 จำนวน 40 ลิตร)

สรุป ต้องเติมแก๊สโซฮอล์95 จำนวน 44.44 ลิตร เป็นเงิน = 44.44x31.84 = 1401.63 บาท

ผลต่างคือ : ระยะทาง 400 กม.เติมแก๊สโซฮอล์95 = 1401.63 บาท
ระยะทาง 400 กม.เติมเบ็นซิน91 = 1405.6. บาท

กลายเป็นว่าต้องเสียเงินเพิ่ม 140.03 บาท จากการเติมแก๊สโซฮอล์95 เพื่อที่จะให้วิ่งได้ 400 กม. (เท่ากับเติมเบ็นซิน91)